รถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง เหนือ อีสาน ออก ใต้ ปีที่เปิดใช้ อัพเดท 2024

รถไฟความเร็วสูง

อนาคตของประเทศไทย การเดินทางจะสามารถเชื่อมต่อกันได้ด้วยระบบโครงข่ายคมนาคมที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีรถไฟฟ้า BTS และ MRT รวมถึงรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ซึ่งยังเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนแผนพัฒนารถไฟความเร็วสูงในหลายเส้นทางตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) เพื่อเพิ่มความรู้จักรถไฟความเร็วสูง โดยมีเส้นทาง ระยะทาง และสถานีที่เปิดให้บริการ และผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อเปิดใช้งาน

รถไฟความเร็วสูง

High Speed Rail (HSR)

รถไฟความเร็วสูง (High Speed Rail: HSR) เป็นระบบรถไฟระหว่างเมืองที่เดินรถด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้รางขนาดความกว้างมาตรฐาน (Standard Gauge) ในการเดินรถ มีขั้นตอนการเดินทางไม่ยุ่งยากเท่าการโดยสารโดยเครื่องบิน

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย ถือเป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ มีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงตลาดการค้า ระหว่างกลุ่มประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางของอินโดจีน ตามแผนจะก่อสร้างทั้งหมด 4 สาย ได้แก่ สายเหนือ, สายตะวันออก, สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้

โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็นระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ในแต่ละสาย เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้บริการ จะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง สนับสนุนเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ให้มีความรุดหน้า กระจายความเจริญไปยังทุกภูมิภาคของประเทศ

รถไฟความเร็วสูง มีเส้นทางไหนบ้าง ระยะทาง และสถานี

รถไฟความเร็วสูง ตามแผนมีการพัฒนาทั้งหมด 4 สาย กระจายเส้นทางไปในภูมิภาคต่าง ๆ ดังนี้

1. สายเหนือ

รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทางรวม 669 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 12 สถานี ได้แก่

  • สถานีกลางบางซื่อหรือกรุงเทพอภิวัฒน์
  • สถานีดอนเมือง
  • สถานีอยุธยา
  • สถานีลพบุรี
  • สถานีนครสวรรค์
  • สถานีพิจิตร
  • สถานีพิษณุโลก
  • สถานีสุโขทัย
  • สถานีศรีสัชนาลัย
  • สถานีลำปาง
  • สถานีลำพูน
  • สถานีเชียงใหม่

2. สายตะวันออกเฉียงเหนือ

รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางรวม 609 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 11 สถานี ได้แก่

  • สถานีกลางบางซื่อหรือกรุงเทพอภิวัฒน์
  • สถานีดอนเมือง
  • สถานีอยุธยา
  • สถานีสระบุรี
  • สถานีปากช่อง
  • สถานีนครราชสีมา
  • สถานีบัวใหญ่
  • สถานีบ้านไผ่
  • สถานีขอนแก่น
  • สถานีอุดรธานี
  • สถานีหนองคาย

3. สายตะวันออก

รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทางรวม 220 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 9 สถานี ได้แก่

  • สถานีดอนเมือง
  • สถานีกลางบางซื่อหรือกรุงเทพอภิวัฒน์
  • สถานีมักกะสัน
  • สถานีสุวรรณภูมิ
  • สถานีฉะเชิงเทรา
  • สถานีชลบุรี
  • สถานีศรีราชา
  • สถานีพัทยา
  • สถานีอู่ตะเภา

4. สายใต้

รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ระยะทางรวม 970 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 12 สถานี ได้แก่

  • สถานีกลางบางซื่อหรือกรุงเทพอภิวัฒน์
  • สถานีนครปฐม
  • สถานีราชบุรี
  • สถานีเพชรบุรี
  • สถานีหัวหิน
  • สถานีประจวบคีรีขันธ์
  • สถานีชุมพร
  • สถานีสุราษฎร์ธานี
  • สถานีทุ่งสง
  • สถานีพัทลุง
  • สถานีหาดใหญ่
  • สถานีปาดังเบซาร์

รถไฟความเร็วสูง เปิดใช้เมื่อไหร่

สายรถไฟความเร็วสูงระยะทาง (กม.)จำนวนสถานีปีที่คาดว่าจะเปิดใช้
รถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่66912เฟส 1 ปี 2572
เฟส 2 ปี 2575
รถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย60911เฟส 1 ปี 2569-72
เฟส 2 ปี 2573
รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา2209เฟส 1 ปี 2571-73
เฟส 2 ปี 2576
รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์97012เฟส 1 ปี 2575
เฟส 2 ปี 2580

1. รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 669 กิโลเมตร จำนวน 12 สถานี คาดว่าจะเปิดใช้ปี 2575 แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 กรุงเทพ-พิษณุโลก คาดเปิดใช้ปี 2572
  • ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ คาดเปิดใชปี 2575

2. รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 609 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี คาดว่าจะเปิดใช้ปี 2571 แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา คาดเปิดใช้ปี 2569 เตรียมขบวนรถรุ่น Fuxing Hao (ฟู่ซิงห้าว) มาใช้วิ่งให้บริการ ระยะทางรวม 253 กม.

    คาดว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน จะนำขบวนรถรุ่น Fuxing Hao (ฟู่ซิงห้าว) CR300AF มาใช้วิ่งให้บริการ แบ่งประเภทที่นั่งได้ 3 ระดับ ได้แก่ ชั้นหนึ่ง (ที่นั่งแบบเก้าอี้เดี่ยว) ชั้นสอง (ที่นั่งประเภทธุรกิจ) และชั้นสาม ความจุ 600 คน/ขบวน ต่อพ่วงได้ 3-10 คัน/ขบวน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 5 หมื่นคน/ชั่วโมง/ทิศทาง
  • ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย คาดเปิดใช้ปี 2571 มีจำนวน 5 สถานี ระยะทาง 355 กิโลเมตร

3. รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กิโลเมตร จำนวน 9 สถานี คาดว่าจะเปิดใช้ปี 2580 แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา คาดเปิดใช้ปี 2571
    โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบังไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่ รวมระยะทาง 220 กม. มีผู้เดินรถรายเดียวกัน ซึ่งรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง เชื่อมกรุงเทพฯ กับพื้นที่ อีอีซี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 นาที
  • ระยะที่ 2 อู่ตะเภา-ระยอง-ตราด คาดเปิดใช้ปี 2576

4. รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 970 กิโลเมตร จำนวน 12 สถานี คาดว่าจะเปิดใช้ปี 2580 แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 กรุงเทพ-หัวหิน คาดเปิดใช้ปี 2575
  • ระยะที่ 2 หัวหิน-สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ คาดเปิดใช้ปี 2580

รถไฟความเร็วสูง ส่งผลอะไรบ้าง

  1. อำนวยความสะดวกด้านการเดินทางของประชาชน สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
  2. เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ สนับสนุนเศรษฐกิจ เชื่อมต่อการค้าการลงทุน
  3. เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ ขณะดำเนินการก่อสร้าง
  4. เกิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี ตามแนวเส้นทาง มีการให้เช่าพื้นที่ การค้าขายและการบริการ
  5. เกิดการขยายตัวของเมือง แหล่งงาน แหล่งอยู่อาศัยใหม่
  6. มีการพัฒนาเมืองตามแนวเส้นทาง ให้เป็นศูนย์กลางความเจริญของภูมิภาค
  7. ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ

ในอนาคต เมื่อโครงการเมกะโปรเจ็กต์อย่างรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จ ไม่เพียงแต่จะสามารถเชื่อมต่อเมือง ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง ส่งผลต่อเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว กระจายความเจริญไปยังทุกภูมิภาคของประเทศเท่านั้น รวมทั้งยังทำให้เกิดทำเลที่อยู่อาศัยใหม่ ๆ แหล่งงาน เแหล่งรวมไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาค ช่วยลดความแออัดในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้อีกทางหนึ่ง